วัคซีนที่ผู้สูงวัยควรฉีด
- แนะนำให้ฉีดทุกปีในช่วงปลายฤดูฝนถึงช่วงฤดูหนาว เพราะเชื้อโรคมีการเปลี่ยนสายพันธ์ุที่ระบาดทุกปี
- หลังฉีดวัคซีนอาจมีอาการปวด บวม แดง สามารถรับประทานยาแก้ปวดพาราเซตามอน 500 มก. ซึ่งอาการจะดีขึ้นภายใน 2-3 วัน แต่หากยังไม่ดีขึ้นควรไปพบแพทย์
- ปัจจุบันยังพบผู้ป่วยโรคบาดทะยักในประเทศไทย และมีแนวโน้มพบในผู้สูงวัยมากขึ้นด้วย หลังจากฉัดวัคซีนป้องกันบาดทะยักแล้ว ร่างกายไม่ได้รับเชื้อบาดทะยักเลย จะมีภูมิต้านทานอยู่ประมาณ 10 ปี ดังนั้นผู้สูงวัยที่เคยฉีดวัคซีนบาดทะยักแล้วควรฉีดซ้ำอีก 1 ครั้ง
- สำหรับผู้ที่ไม่เคยฉีด สามารถฉีดเข็มแรกได้ทันที หลังจากนั้นฉีดเข็มที่ 2 ห่างจากเข็มแรก 1 เดือน และเข็มที่ 3 ห่างจากเข็มที่ 2 ประมาณ 6 เดือน
วัคซีนป้องกันปอดอักเสบหรือเชื้อนิวโมคอคคัส
- โรคปอดบวมและไอพีดี เป็นโรคติดเชื้อที่พบได้บ่อยในผู้สูงวัย มีสาเหตุจากเชื้อนิวโมคอสคัสซึ่งเป็นเชื้อแบคทีเรียที่มีหลายสายพันธุ์ แพร่กระจายสู่ผู้อื่นได้ง่ายผ่านละอองจากทางเดินหายใจ เพียงแค่การไอหรือจาม โรคติดเชื้อนิวโมคอคคัส ได้แก่ โรคปอดบวมหรือปอดอักเสบ หูชั้นกลางอักเสบ ไซนัสอักเสบ ส่วนโรคติดเชื้อนิวโมคอคคัส รุนแรงหรือเรียกว่า "ไอพีดี" (Invasive Pneumococcal Dosease) ได้แก่ การติดเชื้อในกระแสเลือด เยื่อหุ้มสมองอักเสบ
- แนะนำฉีดวัคซีนป้องกันโรคปอดอักเสบ 2 ชนิด โดยเริ่มฉีดชนิดคอนจูเกต 13 สายพันธุ์ 1 เข็ม ตามด้วยชนิดโพลีแซคคาไรด์ 23 สายพันธุ์ ห่างกันอย่างน้อย 8 สัปดาห์
- โรคงูสวัดพบบ่อยขึ้นตามอายุ ภาวะแทรกซ้อนที่สำคัญได้แก่ อาการปวดแสบตามแนวเส้นประสาท อาการปวดในผู้ป่วยสูงวัยมักมีความรุนแรงและมีอาการนานกว่าในผู้ป่วยอายุน้อย วัคซีนสามารถลดความเสี่ยงในการเกิดงูสวัด และลดอาการปวดแสบร้อนตามแนวเส้นประสาท
- แนะนำฉีดวัคซีนป้องกันโรคงูสวัด 1 เข็ม ในผู้ป่วยที่มีอายุ 60 ปี ขึ้นไป
ที่มา รพ. บำรุงราษฎร์
และติดตามข่าวสารเกี่ยวกับ never-age ใน Facebook ของเราได้ที่
http://www.facebook.com/neverage.fan
และ Twitter
twitter.com/Never_Age
และ IG : http://instagram.com/neveragedotcom.