ผู้เชี่ยวชาญกล่าวว่าความคุ้นเคยเป็นปัจจัยสำคัญเมื่อใช้ดนตรีเป็นตัวช่วยในการกระตุ้นให้หลับ เพลงที่คุ้นเคยนั้นทำให้ผู้ฟังสบายใจ คาดเดาได้ และดูเหมือนจะช่วยให้คุณผ่อนคลายได้มากกว่า
แค่ลองมองรอบตัวคุณ และคุณจะพบหลักฐานว่าผู้คนมากมายนั้นมีความชอบทานด้านดนตรีที่หลากหลายแตกต่าง คนที่พร้อมจะจ่ายเงินค่าบัตรคอนเสิร์ตแพงๆ ไปจนถึงคนที่คุณอาจจะคุยด้วยยากหน่อย เพราะวันๆ เอาแต่ใส่เอียร์โฟน
ผลการศึกษาชี้ให้เห็นว่า การฟังเพลงนั้นมีประโยชน์หลากหลาย มันทำให้คุณออกกำลังกายได้ดีขึ้น เพิ่มโพรดัคทิวิตี้ ลดความเครียด และยังช่วยในการจัดการความเจ็บปวดได้อีกด้วย ดังนั้นจึงไม่น่าแปลกใจที่ผู้คนจะใช้เสียงเพลงเพื่อรักษาอาการนอนไม่หลับ
เพียงแค่ในสหรัฐอเมริกา มีการประเมิณว่าผู้ใหญ่ประมาณ 50 ถึง 70 ล้านคนประสบปัญหานอนหลับยาก เมื่อเวลาผ่านไป การนอนไม่พอยังส่งผลถึงน้ำหนักตัวที่เพิ่มขึ้น ความทรงจำที่แย่ลง เพิ่มความเสียงในการเจ็บป่วยและอื่นๆ อีกมากมาย
ในการสำรวจล่าสุด จากกลุ่มตัวอย่างกว่า 600 คนนั้น ส่วนมากรายงานว่าอยู่ในช่วงการใช้ดนตรีเพื่ิอให้นอนหลับ โยฮัน เซบาสเตียน แบช ดูจะเป็นศิลปินที่ได้รับความนิยมสูงสุดที่คนนิยมฟังก่อนนอน ตามมาด้วยเอ็ด ชีแรน, วูล์ฟแกง อมาเดอุส โมสาร์ท, ไบรอัน อีโน, โคลด์เพลย์ และ เฟรดเดอริค โชแปง
เป็นที่ชัดเจนว่าอันดับแรกของดนตรีที่ผู้เข้าร่วมทดสอบกว่า 30 เปอร์เซ็นต์รายงานว่าเป็นเพลงที่ช่วยให้พวกเขาหลับนั้นคือดนตรีคลาสสิค
แน่นอนว่าหากลองไปดูเพลย์ลิสต์เพลงเพื่อการนอนหลับแล้ว คุณก็มักจะพบเพลงคลาสสิคอยู่ เช่นเดียวกับนักดนตรีที่ผู้คนมักอ้างถึง เพลย์ลิสต์เหล่านี้มักสร้างขึ้นจากอัลกอริธึ่ม หรือไม่ก็เลือกโดยมนุษย์จริงๆ ซึ่งหาได้ง่ายในเว็บไซต์อย่าง Spotify และ 8tracks
แม้ลิสต์เหล่านี้จะเป็นความตั้งใจดี แต่มันได้ผลในฐานะตัวช่วยนอนหลับมากแค่ไหนกันล่ะ? เหมือนหลายๆ สิ่ง เรื่องนี้มีความหลากหลายขึ้นกับแต่ละคนจริงๆ แม้แต่เพลงที่ฟังสบายที่สุดก็อาจจะไม่ช่วยคนที่ต้องการความถูกใจ
เพราะแบบนี้ Sleep Foundation หรือ มูลนิธิแห่งการนอน จึงแนะนำว่าการฟังเพลงที่คุณคุ้นเคยต่างหากคือวิธีผ่อนคลายจิตใจ เมื่อเรารู้อยู่แล้วว่าทำนองเพลงและเนื้องร้องเป็นยังไง ก็เป็นธรรมดาที่จะทำให้เรารู้สึกผ่อนคลายกับสิ่งที่พบเจออยู่บ่อยครั้ง ในทางกลับกัน การได้ยินเสียงดนตรีแบบใหม่ นั่งถอดเนื้อเพลงใหม่นั้นทำให้สมองต้องใช้พลังงานมากกว่า ซึ่งจะทำให้คุณรู้สึกตื่นตัวแทน
ถ้าอยากทำเพลย์ลิสต์เพลงสำหรับการนอนหลับของตัวเองแลว ลิซ คูเปอร์ แห่ง British Academy of Sound Therapy แนะนำ ว่าให้เลือกเพลงที่มีจังหวะประมาณ 60 บีท ต่อนาทีหรือน้อยกว่านั้น โดยรวม คูเปอร์เชื่อว่ามีสองทางที่จะใช้ดนตรีเพื่อช่วยให้หลับดีขึ้นได้
ทางหนึ่ง บางคนอาจหาเพลงที่ "ถูกออกแบบมาให้ผ่อนคลายเราผ่านจังหวะซ้ำๆ, ช่วงจังหวะของดนตรี, เทมโปช้าๆ และเสียงต่ำๆ" เธอกล่าว อีกทางหนึ่ง คนๆ นึงสามารถเลือกเพลง "ที่มีความสัมพันธ์กับความทรงจำดีๆ" ซึ่งช่วยให้เรานึกถึงช่วงเวลาที่มีความสุขแทน
ที่มา: www.medicaldaily.com